• prince of songkla university

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU philosophy)


TH
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย

จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
EN
Prince of Songkla University (PSU) was established under the Southern Development Plan policy with the intention to become the leading university in the southern region of Thailand, in terms of delivering graduate students, research, and academic services, whilst appreciating and maintaining arts and culture. The university’s educational management aims to develop graduate students empowering the country, and to adhere to a national educational approach that focuses on learner-centered education.

The educational philosophy of Prince of Songkla University is based on progressivism, the development of learners in all aspects, fostering social integration and adaptability. PSU believes that treating students through learner-centered education entails thoughtful consideration of various learner needs through the process of problem-solving and self-researching processes, and taking action inside and outside the classroom. Putting these ideas into action effectively results in sustainable learning approach, and forms the underlying basis of dynamic development. PSU also holds the notion that learning does not stop past university education, but continues throughout life. Accordingly, the educational management of the university aims to provide students with a thorough understanding and appreciation of lifelong learning.

The above-mentioned principles form the basis of outcome-based education, curriculum development, and various learning management processes, including active learning, which means learning from a variety of activities and actions; problem-based learning, which describes learning based on problem-solving through case studies; project-based learning, which refers to learning based on assignments and assessments; and service learning, which means education through serving the community. Prince of Songkla University aims to apply these principles successfully, as guided by the motto of the “Prince of Songkla”, HRH Prince Mahidol Adulyadej: “Our Soul is for the Benefit of Mankind”.

ค่านิยม (MCS)


M
Mastery in Teaching, Research and Social Development
เชี่ยวชาญด้านการสอน การวิจัย และการพัฒนาสังคม
C
Collaborative Creativity and Continuous Improvement
คิดเชิงสร้างสรรค์โดยร่วมมือร่วมใจ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อนำไปสู่การพัฒนา วิจัย และวัฒนกรรม อย่างต่อเนื่อง
S
Sustainability
สามารถดำรงอยู่อย่างยั่งยืน หรือสามารถไปสู่ความยั่งยืนได้

เป็นสาขาชั้นนำด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1. ผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการคอมพิวเตอร์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
2. ผลิตงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสร้างเครือข่ายวิชาการในระดับนานาชาติ
3. บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

มีองค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญที่สนองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์


Mar
18
2024
ขอแสดงความยินดี อาจารย์ผู้ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมมรรถนะอาจารย์ PSU Teaching Professional Standards Framework : PSU-TPSF

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ อินทรสิทธิ์ ผ่าน PSU-TPSF Level 3
รองศาสตราจารย์ ดร.อารียุทธ สมาแอ ผ่าน PSU-TPSF Level 2
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาขวัญ ริยาพันธ์ ผ่าน PSU-TPSF Level 2
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ วิกัยสุขสกุล ผ่าน PSU-TPSF Level 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัดดาว ปานสมบัติ ผ่าน PSU-TPSF Level 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีนา ฮะซานี ผ่าน PSU-TPSF Level 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นูริน ดือเร๊ะ ผ่าน PSU-TPSF Level 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาพิมพ์ พตพนธ์เลิศ ผ่าน PSU-TPSF Level 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริประภา ฤทธิ์รักษา ผ่าน PSU-TPSF Level 2
อาจารย์จันทร์เพ็ญ โพธิ์แก้ว ผ่าน PSU-TPSF Level 1

Dec
25
2023
ดาวน์โหลด เกียรติบัตรสำหรับครูและนักเรียน โครงการอบรมคณิตศาสตร์สัญจร ภายใต้โครงการ PSU-TUYF:Mathematics for Sustainable Community Developmen

ศูนย์โรงเรียนดารุสลาม New
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนดารุสลาม [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนสาธิตอิสลามศึกษา
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนสาธิตอิสลามศึกษา [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนศาสนูปถัมภ์
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนพัฒนาวิทยา
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนพัฒนาวิทยา [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนศาสน์สามัคคี
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนศาสน์สามัคคี [ ดาวน์โหลด pdf ]

ศูนย์โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน
@ เกียรติบัตรสำหรับนักเรียน-โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน [ ดาวน์โหลด pdf ]
@ เกียรติบัตรสำหรับครู-โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน [ ดาวน์โหลด pdf ]


Jun
6
2023
ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.อารียุทธ สมาแอ ที่ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน


ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.อารียุทธ สมาแอ ได้คัดเลือก เป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประจำปี 2566


Apr
4
2023
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการอบรมเข็มเพื่อเตรียมสอบ สอวน.วิชาคณิตศาสตร์ (Pre Olympic) PSU-TUYF: Mathematics for Sustainable Community Development ประจำปี 2566


ตามที่สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการอบรมเข้มเพื่อเตรียม สอบ สอวน.วิชาคณิตศาสตร์ (Pre Olympics) PSU-TUYF: Mathematics for Sustainable Community Development ประจำปี 2566 ณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
@ [ รายชื่อผู้ผ่านคัดเลือก pdf ]

ผู้ได้รับการคัดเลือกสแกนเพื่อยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ (ภายในวันที่ 16 เมษายน 2566)