• prince of songkla university


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พศ. 2564

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
Bachelor of Science Program in Mathematics and Computer Science

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
* วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์)
* Bachelor of Science (Mathematics and Computer Science)

ชื่อย่อ
* วท.บ. (คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์)
* B.Sc. (Mathematics and Computer Science)

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Prince of Songkla University (PSU) was established under the Southern Development Plan policy with the intention to become the leading university in the southern region of Thailand, in terms of delivering graduate students, research, and academic services, whilst appreciating and maintaining arts and culture. The university’s educational management aims to develop graduate students empowering the country, and to adhere to a national educational approach that focuses on learner-centered education.

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย

The educational philosophy of Prince of Songkla University is based on progressivism, the development of learners in all aspects, fostering social integration and adaptability. PSU believes that treating students through learner-centered education entails thoughtful consideration of various learner needs through the process of problem-solving and self-researching processes, and taking action inside and outside the classroom. Putting these ideas into action effectively results in sustainable learning approach, and forms the underlying basis of dynamic development. PSU also holds the notion that learning does not stop past university education, but continues throughout life. Accordingly, the educational management of the university aims to provide students with a thorough understanding and appreciation of lifelong learning.

จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

The above-mentioned principles form the basis of outcome-based education, curriculum development, and various learning management processes, including active learning, which means learning from a variety of activities and actions; problem-based learning, which describes learning based on problem-solving through case studies; project-based learning, which refers to learning based on assignments and assessments; and service learning, which means education through serving the community. Prince of Songkla University aims to apply these principles successfully, as guided by the motto of the “Prince of Songkla”, HRH Prince Mahidol Adulyadej: “Our Soul is for the Benefit of Mankind”.

ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ด้านคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อบูรณาการความรู้ทั้งสามศาสตร์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติและปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ และสร้าง นวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร ชุมชนและสังคมในภาคใต้อย่างยั่งยืน หลักสูตรผลิตบัณฑิตตามแนวทางพิพัฒนาการ นิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และ ปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา และใช้โครงงานเป็นฐาน มีการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนและสถานประกอบการ มีการพัฒนาผู้เรียนผ่านกระบวนการ แก้ปัญหาและศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างทักษะในการสื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม และบ่มเพาะ ผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

PLO-1 พิสูจน์ประพจน์ทางคณิตศาสตร์ที่กำหนดด้วยวิธีการพิสูจน์ตามหลักตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล
Sub PLO1.1 อธิบายศัพท์และบทนิยามที่เกี่ยวข้องกับประพจน์ที่กำหนดได้
Sub PLO1.2 เขียนโครงสร้างของประพจน์ที่กำหนดได้
Sub PLO1.3 เลือกวิธีการและเขียนการพิสูจน์ตามหลักตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล
PLO-2 บูรณาการความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติและสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้
Sub PLO2.1 วิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา
Sub PLO2.2 สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์หรือสถิติได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์ที่กำหนด
Sub PLO2.3 พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องและเหมาะสม
Sub PLO2.4 ตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ปัญหา
PLO-3 พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ตามความต้องการของผู้ใช้และเป็นไปตามมาตรฐานระเบียบขั้นตอนในการพัฒนา
Sub PLO3.1 วิเคราะห์ปัญหาเพื่อก าหนดความต้องการของผู้ใช้และความต้องการเชิงระบบ
Sub PLO3.2 ออกแบบขั้นตอนวิธีการท างานของโปรแกรมและโครงสร้างข้อมูล
Sub PLO3.3 เขียนชุดค าสั่งเพื่อให้โปรแกรมและโครงสร้างข้อมูลทางานตามที่ได้ออกแบบ
Sub PLO3.4 ทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรม
Sub PLO3.5 เขียนเอกสารประกอบโปรแกรม
PLO-4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นาและสมาชิกที่ดี และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
PLO-5 สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามสถานการณ์
PLO-6 เรียนรู้ได้ด้วยตนเองและก้าวทันเทคโนโลยี
Sub PLO6.1 ค้นคว้าและแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
Sub PLO6.2 รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
Sub PLO6.3 ค้นคว้าหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่าเสมอ
Sub PLO6.4 เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
PLO-7 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะที่เป็นที่ยอมรับของสังคม
Sub PLO7.1 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
Sub PLO7.2 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
Sub PLO7.3 ปฏิบัติงานภายใต้กฎระเบียบที่กาหนดขององค์กร
Sub PLO7.4 แสดงพฤติกรรมจิตอาสาและจิตสาธารณะ และปฏิบัติตนให้มีคุณค่าในฐานะพลเมืองของสังคม

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

1) เรียนครบตามแผน 130 หน่วยกิต และผ่านการฝึกประสบการณ์หรือสหกิจศึกษา

2) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีและการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. 2563 โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กาหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน

3) เข้าร่วมกิจกรรมตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตร พศ. 2560

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
Bachelor of Science Program in Applied Mathematics

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
* วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์)
* Bachelor of Science (Applied Mathematics)

ชื่อย่อ
* วท.บ. (คณิตศาสตร์ประยุกต์)
* B.Sc. (Applied Mathematics)

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้อง ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วย

จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
* หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และบูรณาการความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาหรือสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม